ก่อนจะว่าด้วยเรื่องการปนเปื้อนของเชื้อปรสิตในแทงค์น้ำ เรามาทำความรู้จัก 2 คำนี้กันก่อนครับ คือ ไมโครสปอริเดีย (Microsporidia) และ ไมโครสปอริดิโอซิส (Microsporidiosis)

ไมโครสปอริเดีย (Microsporidia) คือสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่เป็นเชื้อปรสิต สามารถพบได้ในน้ำและสิ่งแวดล้อมอื่นๆ โดยเชื้อเหล่านี้เป็นสาเหตุของโรคไมโครสปอริดิโอซิส (Microsporidiosis) หรือก็คือการติดเชื้อปรสิตในกลุ่มไมโครสปอริเดียนั่นเอง ซึ่งเชื้อปรสิตชนิดนี้สามารถติดเชื้อในมนุษย์และสัตว์ต่างๆ ได้ โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง

สาเหตุที่เชื้อปรสิตไมโครสอริเดียมีการปนเปื้อนในแหล่งน้ำ

เชื้อปรสิตไมโครสปอริเดีย สามารถเกิดการปนเปื้อนในน้ำได้จากหลายสาเหตุ เช่น
– ของเสียจากมนุษย์และสัตว์: การปล่อยของเสียจากมนุษย์และสัตว์ลงในแหล่งน้ำ เช่น น้ำทิ้งจากระบบสุขาภิบาลที่ไม่ได้รับการบำบัดอย่างถูกต้อง อาจนำพาเชื้อ Microsporidia ลงสู่แหล่งน้ำ
– น้ำทิ้งจากฟาร์มเลี้ยงสัตว์: ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะฟาร์มปศุสัตว์ อาจมีการปล่อยน้ำเสียที่มีเชื้อ Microsporidia จากอุจจาระสัตว์ลงสู่แหล่งน้ำใกล้เคียง
– การปนเปื้อนจากดินและน้ำผิวดิน: น้ำฝนสามารถชะล้างเชื้อ Microsporidia จากดินที่มีการปนเปื้อนลงสู่แหล่งน้ำผิวดิน เช่น ลำคลองและแม่น้ำ
– การปนเปื้อนจากน้ำประปา: แม้ว่าในหลายพื้นที่จะมีการบำบัดน้ำประปาอย่างเข้มงวด แต่ในบางกรณีที่ระบบบำบัดน้ำประปามีปัญหา หรือไม่ได้รับการบำบัดอย่างเหมาะสม อาจทำให้เชื้อ Microsporidia หลุดรอดเข้ามาในระบบน้ำประปาได้
– การปนเปื้อนในแหล่งน้ำธรรมชาติ: แหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น บ่อน้ำ พื้นที่ชุ่มน้ำ หรือทะเลสาบ อาจได้รับการปนเปื้อนจากการกระจายตัวของเชื้อ Microsporidia จากสัตว์ป่า
– กิจกรรมของมนุษย์: การทำกิจกรรมต่างๆ เช่น การล้างรถ การซักผ้า หรือการทำเกษตรกรรมใกล้แหล่งน้ำ อาจนำพาเชื้อ Microsporidia ลงสู่แหล่งน้ำได้

เชื้อไมโครสอริดีปนเปื้อนสู่แทงค์น้ำได้อย่างไร?

– การปนเปื้อนสู่แทงค์น้ำอาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ตั้งแต่จากแหล่งน้ำต้นทางที่ไม่สะอาด, แทงค์น้ำถูกปิดไม่สนิท หรือมีการชำรุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแทงค์น้ำใต้ดินที่มีความใกล้ชิดพื้นดินอยู่ตลอดเวลา อีกทั้งยังบำรุงรักษายากกว่าจึงมีโอกาสปนเปื้อนสูงกว่าถังเก็บน้ำประเภทอื่นๆ

การติดเชื้อ

แน่นอนว่าหากใช้น้ำที่ปนเปื้อนเชื้อปรสิตไมโครสปอริเดียก็อาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้ แต่โดยปกติแล้วเชื้อโปรโตซัวไมโครสปอริเดีย จะไม่ส่งผลอะไรกับผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง แต่อาจก่อให้เกิดอาการท้องเสียในผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำหรือภูมิคุ้มกันบกพร่องได้ (ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อ)

ซึ่งอาการของการติดเชื้อไมโครสปอริเดีย สามารถแตกต่างกันไปตามชนิดของเชื้อและระบบภูมิคุ้มกันของผู้ติดเชื้อ แต่ทั่วไปแล้วมักมีอาการ:
• ท้องเสีย
• ปวดท้อง
• คลื่นไส้
• อาเจียน
• ปวดตา ตาแดง แพ้แสง น้ำตาไหล การมองเห็นลดลง

ในกรณีที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง อาการอาจรุนแรงและเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่ายขึ้น หากมีอาการดังกล่าวควรไปพบแพทย์ทันที

ารป้องกัน
– เราสามารถป้องกันตัวเองได้โดยการดื่มน้ำและรับประทานอาหารที่สะอาด ล้างมือให้สะอาดหลังการสัมผัสน้ำสกปรก ดิน หรือสัตว์
ล้างแทงค์น้ำ บ่อยๆ อย่างน้อยทุก 6 เดือน นอกจากจะเป็นการทำความสะอาดแล้วยังช่วยให้เราได้ตรวจสอบความผิดปกติของถังเก็บน้ำอีกด้วย
– เลือกใช้ แทงค์น้ำที่ผลิตจากวัสดุเอลิเซอร์ by SCGC เพราะมีความแข็งแรง ทนทาน ได้มาตรฐาน เพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่เกิดการรั่วซึม เสี่ยงต่อการปนเปื้อนของเชื้อโรค

(ขอบคุณข้อมูลจาก: รศ.ดร.องอาจ มหิทธิกร หัวหน้าภาควิชาพยาธิโปรโตซัว คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล)

💡 บทความด้านสุขภาพอื่นๆ ที่คุณอาจไม่เคยรู้